NFT creatopia space Marketing การตลาด

     กระเเส NFT (Crypto Art) กำลังมาเเรง จึงทำให้นักสร้างสรรค์คอนเท้นต์เเละงานศิลปะหลายท่านมุ่งมั่นทุ่มเทใช้เวลาโฟกัสกับการสร้างสรรค์ผลงานกันมากขึ้น เเน่นอนว่า ผลงานที่ดีย่อมดึงดูดให้กับนักสะสม (Collector) อยากที่จะหาซื้อมาครอบครอง เเต่ปัญหาหลักอย่างหนึ่งที่ Creator ฝีมือดีหลายท่านดันมาตกม้าตายตอนจบ ทั้งๆที่ผลงานเต็มไปด้วยคุณภาพ นั้นก็คือ การวางเเผนตลาด หรือการโปรโมทผลงานให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม บทความนี้จะนำเสนอวิธีการทำการตลาดเบื้องต้น ที่นักสร้างสรรค์ทุกคนสามารถทำได้ เเละเเทบไม่เสียเงินเลยเเม้เเต่บาทเดียว โดยเเอดมินขอเเบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ส่วนสำคัญ คือ Product (ประเภทชิ้นงานที่ขายได้), Main target (กลุ่มเป้าหมายที่ซื้องาน), How to promote NFT (โปรโมทอย่างไร) ถ้าพร้อมเเล้วปล่อยใจให้สบาย เเล้วมาลุยกัน

NFT creatopia space การตลาด 01

REF: Silvio Vieira’s digital work Contemplation 2020 original post link
REF: Disaster Girl meme original post link
REF: NFT Rock original post link

ประเภทชิ้นงานที่ขายได้ (Product)

โดยภาพรวมรูปเเบบของผลงานที่ขายได้ใน NFT ปัจจุบันมักจะมี 4 รูปเเบบสำคัญที่เป็นตัวดึงดูดให้กลุ่มเป้าหมาย (Target) อยากที่จะซื้อมาครอบครอง โดยมีลักษณะดังนี้

  • Visual Art เป็นสายที่ดึงดูดด้วยภาพลักษณ์ เช่น มีความสวยงาม มีความขยันใส่ใจลายละเอียด มีความอลังการ โดยสายนี้ส่วนมากจะเป็น creator ที่มี skill ศิลปะออกเเบบ เเละกราฟฟิค เป็นพื้นฐานอยู่เเล้ว (กลุ่มศิลปินนักออกเเบบ) โดยเน้นจุดขายที่ตัวผลงานตรงๆ เห็นเเล้วประทับใจ เห็นเเล้วชอบ มี visual ที่ดึงดูดด้วยตัวมันเอง ยกตัวอย่างเช่น งานของ Silvio Vieira กับงาน digital art ที่สวยงามอลังการทันทีที่ได้เห็น ก็จะดึงดูด Target ที่ชอบงานสวยงามมีลายละเอียดสูง

  • Storytelling สายที่ดึงดูดด้วยเนื้อหา เรื่องราว ความเป็นตำนาน ความเป็นกระเเส อาจจะไม่ได้เน้นภาพที่สวยงาม องค์ประกอบไม่อิงกับเชิงศิลปะ เเต่มีเรื่องราวที่น่าสนใจ เช่น ภาพมีม Disaster Girl ที่โด่งดังในเน็ตจนเป็นกระเเสทั่วโลก ผู้ซื้อก็จะซื้อเพราะเรื่องราวเเละความ Niche ที่เป็นตำนานของมัน

  • Unique / Taste จะเรียกว่าเป็นสายพิเศษก็ว่าได้ งานที่เต็มไปด้วยความเเปลก หลากหลายรสนิยม สวยในมุมเฉพาะกลุ่ม ไม่ Mass ในตลาด เช่น งานก้อนหิน Pixel ของศิลปิน EtherRock 87 หลายคนก็บอกว่ามันมี history หลายคนก็บอกว่ามันไม่มีอะไรเลยไม่คุ้มกับราคาที่ตั้งขาย เเต่เเน่นอนว่า ภาพนี้ถูกซื้อไปโดย Justin Sun CEO เหรียญ tron ในราคา 20 ล้านบาทด้วยเหตุผลส่วนตัว ซึ่งถ้ามองว่า NFT นี้อาจจะเข้าตา เหมาะกับรสนิยมของนักธุรกิจหนุ่มคนนี้ก็ได้

  • Investor สายสุดท้ายเป็นสายที่บอกเจาะจงลำบาก ระบุยากว่าซื้อเพราะอะไร เเต่ผู้ซื้อในกลุ่มนี้มักจะซื้อเพื่อนำไปลงทุนต่อ (ขายต่อ) นำไปปั่นราคา นำไปสร้างกระเเส หรือหลายๆคนบอกว่า เป็นการซื้อเพื่อฟอกเงินก็มี ซึ่งก็ยังไม่มีหลักฐานชี้ชัดสำหรับกลุ่มสายเทานี้ เเต่นั้นก็ไม่ใช่เหตุผลที่นักสร้างสรรค์ผลงานต้องกังวลนัก เพราะถ้าพูดตามจริง Creator ได้รับค่าตอบเเทนจากผลงานตามที่ตั้งราคาไว้เเล้ว หลังจากนั้นผู้ซื้อจะนำไปทำอะไรต่อก็เป็นสิทธิ์ของผู้ซื้อกรรมสิทธิ์ตามระบบ Blockchain เเล้ว
NFT creatopia space การตลาด 2
กลุ่มเป้าหมายที่ซื้อผลงาน (Main Target)

กลุ่มเป้าหมายที่ซื้องาน NFT ไม่ว่าจะผ่าน platform ไหนก็ตามมักจะมีอยู่ 3 กลุ่มสำคัญด้วยกัน มีลักษณะเฉพาะเเละพฤติกรรม ดังนี้

  • Collector (นักสะสม) เป็นกลุ่มหลักที่อยู่ในเเวดวง NFT มีพฤติกรรมการเลือกซื้อผลงานเเตกต่างกันไป (จาก 4 รูปเเบบที่กล่าวมาข้างต้น) โดย Collector เจ้าใหญ่เรามักจะเรียกกลุ่มนี้ว่า “วาฬ” คือ ผู้ที่มีกำลังซื้อเเละมักจะซื้อเเบบเหมาทั้ง collection โดยมากมักจะอยู่ใน platform NFT ชั้นนำ เช่น Foundation, Opensea, Binance NFT เป็นต้น โดยส่วนใหญ่ Collector ที่ซื้อผลงานคนไทยมักจะเป็นต่างชาติ ซึ่งถือเป็น target สำคัญ

  • Creator (นักสร้างสรรค์) เป็นกลุ่มที่เป็นทั้งคนขาย เเละคนซื้อในเวลาเดียวกันเอง มีทั้งการซื้อในกลุ่มเพื่อนด้วยกัน ซื้อสร้างเพื่อ connection หรือซื้อเพราะชอบในผลงาน เป็นกลุ่มที่กำลังซื้อปานกลาง เมื่อเทียบกับ Collector ตรงๆ

  • Investor (นักลงทุน) กลุ่มนี้มักจะซื้อ NFT เพื่อการลงทุน การปั่นราคา การนำไปเกร็งกำไรขายต่อ การเกาะกระเเส เป็นต้น มีทั้งรายใหญ่เเละรายย่อย รายใหญ่มักจะซื้อผลงานที่มีชื่อเสียงเเละถือยาว ขนาดที่รายย่อยมักจะซื้อมาเเละปล่อยไปทันที

NFT creatopia space การตลาด 05
โปรโมทอย่างไรให้ขายได้ (How to Promote NFT)

มาถึงส่วนไฮไลท์ที่เเอดมินคิดว่าหลายๆคนรอคอย โปรโมทอย่างไรให้ผลงานเราขายได้ โดยส่วนนี้จะเป็นการใช้ข้อมูลจากประสบการณ์ตรงของเพจ Make Me Monster ซึ่งเป็น Creator นักวาดภาพลายเส้นคนหนึ่งในทีม Creatopia Space ของเรา ที่ประสบความสำเร็จในการขายผลงาน 24 ชิ้น บน Opensea สร้างรายได้เเสนกว่าบาท ภายในเวลา 1-2 วันเท่านั้น มาบอกเล่าเพื่อเเชร์เทคนิคส่วนตัว ที่น่าจะช่วยให้นักสร้างสรรค์ทุกคนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ไม่มากก็น้อยในเเบบเจาะลึก พร้อมเเล้วมาดูกันเลย

Step by Step (Case study Make Me Monster)

Introduce
เริ่มเเรกจะต้องเตรียมผลงานให้พร้อมขายก่อน ถ้าเป็นเเนว Artist ผลงานเป็นเเนว Concept Art เเนะนำไปลงขายที่ Foundation เเต่ถ้าผลงานเป็นเเนว Collection หรือสื่อผสม (Multimedia) เเนะนำลง Opensea เเต่ตอนนั้นเพจ Make Me Monster ยังไม่มี invite ให้ไปสมัครที่ Foundation เลยขายบน Opensea ไปก่อนซึ่งมีข้อดีที่ จ่ายค่าธรรมเนียมครั้งเดียววางขายกี่ชิ้นก็ได้ ทางเพจจึงเตรียมผลงานรอบเเรกไว้ 2 collection จำนวน 12 ชิ้นงาน (รวบรวมมาจากงานวาดเก่าๆที่วาดเล่นลงเพจ Facebook) 

Waiting moment 
ทางเพจโพสต์ขายไปพร้อมกัน 12 ชิ้นเลยในวันเดียว โดยไม่คิดอะไรมากเเล้วก็ปล่อยทิ้งไว้ไม่สนใจตามผลว่าจะมีคนมาซื้อไหม (เพราะถ้ามีคงมีอีเมล์เเจ้งมา) เเละไม่คิดว่าจะมีใครมาซื้อผลงานของเรา (เพราะไม่ได้ดังเเถมยังอินดี้ไม่โปรโมทตัวเองด้วย 555) ผ่านไปเกือบ 3 week ไม่มีอะไรเกิดขึ้นคนเข้ามาดูผลงานเเค่ 2-3 view ก็เลยคิดว่า ต้องทำอะไรสักอย่างเเล้วสิ ไม่งั้นก็เลิกขายปิดบัญชี account ไปเลยดีกว่า ก็เลยเริ่มหาวิธีโปรโมท

Learning moment
หาวิธีการโปรโมทโดยการศึกษาข้อมูลจากคนที่ขายได้ในกลุ่ม NFT and Crypto Art Thailand เเละเริ่มเเกะรอยดูว่า วิธีไหนมีความน่าจะเป็นสูงในการได้มาซึ่งลูกค้า โดยดูจากปัจจัยดังนี้ Target ผู้ซื้อของเราอยู่ที่ไหนบ้างในโลกออนไลน์ , Social media Channel ไหนที่เหมาะกับการโปรโมท , วิธีการสื่อสารเเละวัฒนธรรมการซื้อขายของ NFT เป็นรูปเเบบอย่างไร จนได้ข้อสรุปคร่าวๆ ดังนี้ 

  • Twitter เป็นช่องทางการซื้อขายที่กลุ่มเป้าหมายไปรวมกันอยู่เยอะที่สุด
  • Discord เป็นเเอปสื่อสารเเละใช้จัดกิจกรรม NFT ที่กลุ่มเป้าหมายใช้มากที่สุด
  • Target ส่วนมากที่ซื้อบ่อยๆจะเป็นต่างชาติ ควรสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ
  • NFT Culture นักสะสมมักจะชอบการโชว์ผลงาน, Creator ผู้ขายมักช่วยกัน retweet เเลกกันเพื่อโปรโมทผลงาน, การเชิญชวนให้มา Drop ผลงานใต้โพสต์เป็นการสร้าง engagement ที่ฮิตมากในกลุ่มผู้ซื้อเเละขาย NFT
  • Hashtag# เป็นตัวขับเคลื่อนการเข้าถึงผลงานของเรา เเละกระเเสต่างๆ โดย Hashtag ยอดฮิตที่เราควรใส่ทุกโพสต์ที่เราโปรโมท คือ #NFTs #OpenSeaNFT #nftart #nftcollector #NFTartist #NFTTHAILAND #NFTthai 
ตัวอย่างการสื่อสารโปรโมทบน Twitter
NFT creatopia space make me monster 01

การโพสต์โปรโมทควรทำที่ Twitter เขียน Caption สื่อสารเป็นภาษาอังกฤษ (Google ช่วยได้) เเละต้องติด Hashtag ยอดฮิตในกลุ่ม NFT ทุกครั้งที่โพสต์สื่อสาร ถ้าลิงก์ที่เเปะยาวไปให้ไปทำให้มันสั้นลงใน https://bitly.com/

NFT creatopia space make me monster 02

สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับ Creator ด้วยกันเองด้วยการ Retweet เเลกกันโปรโมทผลงาน ไปกดติดตาม Creator ที่มียอดติดตามสูงๆ พยายามสร้าง connection ใหม่ๆ

NFT creatopia space make me monster 03

กลุ่ม NFT มักมีวัฒนธรรมการเชิญชวนให้มา Drop ผลงานที่ comment ของโพสต์นั้น ทั้งเพื่อสร้าง Engagement ให้กับเพจตัวเอง เเละมองหาผลงานที่น่าสนใจเพื่อซื้อ เราอาจจะเจอลูกค้านักสะสมจากการที่เราไป Drop ผลงานของเราใต้โพสต์เเนวนี้

NFT creatopia space make me monster 05

เข้าร่วมกิจกรรมที่กลุ่ม NFT ต่างชาติชวนให้มากที่สุด ทั้งใน Twitter เเละ Discord พยายามสื่อสารเพื่อสร้าง connection ใหม่ๆ ซึ่งกลุ่มเหล่านี้จะพาผลงานของเราไปพบกับคนที่ใช่เอง ซึ่งเพจ Make Me Monster ได้รับการซื้อผลงานจากนักสะสม NFT ต่างชาติที่หลายคนที่มาจากกลุ่มกิจกรรมต่างๆ มากมาย * จากภาพคือการเข้าไปร่วมโครงการการกุศลเพื่อเด็กที่ยากไร้

NFT creatopia space discord

REF: Discord from PositioningMag original post link 

Discord เป็นช่องทางสื่อสารเเละจัดกิจกรรมที่กลุ่มนักสะสมต่างชาติชอบใช้ จะคล้าย Chat app ผสมกับ Slack App ที่ใช้ในการสร้างประกาศ ขั้นตอนการทำงานต่างๆเพื่อ tag ได้

ผลลัพธ์ (Result)

หลังจากเพจ Make Me Monster ได้ทำตามขั้นตอนจากข้อมูลที่ได้วิเคราะห์มาเป็นเวลา 5 วัน อัพเดทโพสต์เเละเข้าร่วมกิจกรรมวันละ 1 – 2 ครั้งบน Twitter โดยมีเเนวทางปฎิบัติของช่วงโปรโมท 5 วันดังนี้

  • โพสต์โปรโมทผลงานที่ขาย ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลัก
  • ไปโชว์ผลงานที่โพสต์ที่เค้าเชิญชวนให้ drop โปรโมทได้
  • เเลก Retweet กับเพื่อนๆ 
  • ติดตาม Collector เเละ Creator ที่มีผู้ติดตามเยอะ
  • พูดคุยทักทายกับกลุ่ม collector ต่างชาติ เเละ creator
  • เข้าร่วมกิจกรรมที่มี Collector ต่างชาติชวนเท่าที่ทำได้
  • เข้าไปโปรโมทในช่องทางอื่นบ้าง เช่น Facebook page หรือกลุ่ม NFT
  • ทำซ้ำๆตลอด 5 วัน (โดยทำวันละครั้ง เช้าเเละเย็น)
NFT creatopia space Make Me Monster sold out

ผลลัพธ์เเรก ขายหมด 12 ชิ้น ทั้ง 2 collection ภายใน 4 ชั่วโมง (นับจากชิ้นเเรกถูกปล่อยจนถึงชิ้นที่ 12 หมดใน 4 ชม.) 

หลังจากขายผลงานหมดทุกชิ้นใน Opensea เเน่นอนว่าทางเพจ Make Me Monster ก็คิดว่ามันอาจจะฟลุ๊คหรือโชคดี จึงใช้วิธีการเดิมเป็นครั้งที่ 2 เพื่อจับจังหวะเเละวัฒนธรรมการซื้อขายของโลก NFT โดยอัพผลงานเก่าที่เหลือขึ้นไปขายอีก 12 ชิ้น รวบใน collection เดียวเเละใช้ชื่อว่า Make Me Feel Alive เเละเริ่มใช้การโปรโมทเเบบเดิมเเต่ทำได้เพียงไม่ถึง 1 วันหลังจากเปิดขายงาน ก็พบว่า ……. 

NFT creatopia space Make Me Monster sold out 2

ผลลัพธ์ครั้งที่สอง ขายหมด 12 ชิ้น ทั้ง collection ภายใน 1 วัน (นับจากการเริ่มโพสต์โปรโมทครั้งเเรก) ปิดร้านโดยที่ยังไม่ทันเอาไปโปรโมทในกลุ่ม NFT ใดๆ รวมรายได้จากการขาย NFT ทั้งสองครั้งเกือบ 2 เเสนบาท เเละปัจจุบันยังสร้างรายได้เพิ่มขึ้นอีกเรื่อยๆ จากการนำเหรียญ ETH ที่ขายได้มาเกร็งกำไรต่อใน Binance ซึ่งมีการเติบโตของกราฟที่สูงมากในช่วงเวลานี้ (Aug – Sep 2021)

โดยสรุปทางเพจ Make Me Monster มองว่า คนที่ซื้อผลงานของเราไปนั้นมีหลายสาเหตุ เช่น ชอบในตัวผลงานจริงๆมีเอกลักษณ์จดจำง่าย, ราคาถูก (อันนี้นักสะสมหลายคนบอกมาเยอะมาก), Friendly คุยง่าย ทักไปตอบเสมอ เเละสุดท้ายเป็นทาสเเมวกันทั้งนั้นเลย

ทั้งหมดนี้ก็คือ ภาพรวมของการตลาด NFT เเละการโปรโมทเบื้องต้น ที่บอกเล่าผ่านประสบการณ์ส่วนบุคคลของเพจ Make Me Monster ที่ได้ลองใช้วิธีการเหล่านี้เเล้วประสบความสำเร็จด้วยดี ซึ่งเเน่นอนว่า มันอาจจะไม่ได้ผลสำหรับทุกคน หรือหลายๆคนอาจมีวิธีการที่ดีกว่านี้ ก็สามารถมาเเชร์ประสบการณ์ร่วมกันได้ จะได้เป็นวิทยาทานให้กับ Creator ที่มีฝันทุกคนในวงการ NFT นี้ เเต่เหนือสิ่งอื่นใดการทำผลงานศิลปะเพราะความรักถือเป็นจุดเริ่มต้นของทุกสิ่ง อยากให้คิดว่า การได้สร้างผลงานศิลปะก็ถือเป็นความสุขที่นักสร้างสรรค์ควรยึดเป็นเเกนหลัก ส่วนรายได้ที่เข้ามาก็ถือว่า เป็นกำไรชีวิต ขอให้มีความสุขกับการสร้างสรรค์ผลงานกันต่อไป Long Live NFT Art

tipช่วงนี้ราคา gas สูงมาก Collector จำนวนมากบ่นทุกคนว่า ราคา gas เเพงกว่าราคางานอีก คงต้องรอให้ราคาเสถียรกว่านี้ หรือรอเทคโนโลยี eth 2 ออกมารองรับ Creator หลายท่านก็มีเเนะนำว่าให้ลองใช้ Polygon หรือ Platform NFT เจ้าอื่น เเต่เเอดมินยังมองว่า การที่ผู้ขายย้ายไปยัง Hub ใหม่เเต่ถ้าผู้ซื้อรายใหญ่หรือวาฬ ยังไม่ย้ายตามก็ไม่ค่อยมีผลกับการขายงานให้ได้ราคามากนัก อาจจะขายได้กับนักสะสม sizing กลางๆเป็นหลัก อันนี้เเล้วเเต่เเนวทางของเเต่ละคนเลย

Make Me Monster NFT

สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับการขายผลงาน NFT ได้ที่ Social media ของเพจ Make Me Monster โดยตรงผ่านช่องทางเหล่านี้

Twitter : https://twitter.com/MakeMeMonsterTh
Facebook : https://www.facebook.com/makememonster
Opensea : https://opensea.io/MakeMeMonster

ปล. ทางเพจ Make Me Monster เปิดรับสอนเเบบตัวต่อตัวอยู่ ในราคา 2,000 – 3,000.- บาท ทั้งเเบบเรียนออนไลน์ เเละเเบบนัดเจอที่ Ko Kreate Space (ใกล้ๆอาคาร Tipco tower พระรามหก) สอนจนทำเป็นตั้งเเต่เริ่มจากศูนย์ เวลาเรียน 4-5 ชม. สนใจทักไปที่ช่องทางของเพจได้เลย

Thank you for original picture REF:

Picture 1 edit from
Gallery picture from Agnews Gallery : link
Network vector created by pikisuperstar: link
Picture 3 from Digital vector created by freepiklink
Picture 4 from Network vector created by freepiklink

error: Content is protected !! (โปรดติดต่อเราถ้าต้องการความช่วยเหลือ)